กระเทียม คือ สมุนไพรไทยและเครื่องเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น "สุดยอดแห่งอาหารเพื่อสุขภาพ" และ "อาหารป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง" ซึ่งรับรองโดย สถาบันโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกา (NCL)
จากการวิจัยอ้างอิง หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กระเทียมงอก หรือ ต้นอ่อนกระเทียม มี สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่ากระเทียมหัวปกติหลายเท่าตัว
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของต้นอ่อนกระเทียม (Allium sativum ) หลังจากงอกในระยะต่างๆ เพื่อประเมินว่าระยะต้นอ่อนของกระเทียมที่แตกต่างกันนั้นส่งผลใน การต้านอนุมูลอิสระเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
โดยทดสอบสารสกัดเอทานอลของกระเทียมดิบและต้นอ่อนกระเทียมที่เจริญในระยะต่างๆ ด้วยเทคนิค DPPH และ ORAC พบว่า ต้นอ่อนกระเทียมที่มีอายุ 5 วัน มี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด
ในขณะที่สารสกัดเอทานอลของกระเทียมดิบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำกว่า และยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในต้นอ่อนที่มีอายุ 5 – 6 วัน มีความแตก ต่างกับต้นอ่อนที่มีอายุ 0 – 4 วัน อย่างชัดเจน
ซึ่งเป็นการยืนยันว่าต้นอ่อนกระเทียมที่มีอายุ 5 วัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ต้นอ่อนกระเทียมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ผลจากการทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองพบว่า กระเทียม สามารถต้านการเกิดเนื้องอก (tumorformation) และการค้นพบที่สำคัญยิ่งคือ กระเทียม ทำให้เซลล์เม็ดเลือด ขาวชนิดเอ็นเค (Natural killer , NK) ทำหน้าที่ได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
ข้อพึงระวังในการรับประทานกระเทียม คือ ไม่ควรรับประทานในขณะที่ท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อน จะทำให้ปวดท้องได้ ดังนั้น จึงควรรับประทานกระเทียมหลังอาหารทันที และหากเป็นไข้ ร้อนใน ควรงดกระเทียม เพราะจะทำให้ธาตุไฟกำเริบ
นอกจากนี้แล้วในในเพศหญิงถ้ารับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป ร่างกายจะร้อน ซูบผอม จะแสดงอาการวิตก หงุดหงิด จากการเสียเหงื่ออย่างรุนแรง ส่งผมเสีย ต่อม้าม,ตับอ่อน,ไต และ Sex
Advertisements
Advertisements
0 ความคิดเห็น