จะเกิดอะไรขึ้น! ถ้าหากเช้าวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าตัวเองมี "โรคเริมที่ปาก" แน่นอนว่าหลายคนคงรู้สึกประหลาดใจสุดๆเพราะส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า "เริม" มักพบที่บริเวณนั้นของร่างกายมากกว่า...
ทว่าในความเป็นจริง "โรคเริม" สามารถพบได้ที่ริมฝีปากเหมือนกันค่ะ และมักพบบริเวณริมฝีปากทั้งบนและล่าง หรือมุมปาก สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เลยนะคะ
โรคเริม เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ Herpes simplex virus type I : HSV-I และ Herpes simplex virus type II : HSV-II
รู้ได้อย่างไร..ว่าติดโรคเริมเข้าแล้ว!
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 6-8 วัน จะทำให้ผิวบริเวณนั้นเกิดตุ่มน้ำพองใสเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 2-10 เม็ด ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคันหรือแสบร้อนรอบ ๆ ตุ่มใสนี้ ซึ่งต่อมาจะแตกออกเป็นแผลตื้น ๆ หลายแผลติดกัน ตกเสก็ด และหายไปในที่สุด ซึ่งมักจะไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น
การติดต่อโรคเริม สำหรับการติดต่อเชื้อนี้จะติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงเช่น การจูบ หรือการใช้ของร่วมกัน เช่น การใช้ใบมีดโกน การใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้อ 7-10 วันจะเริ่มเกิดอาการแสบร้อนและตามด้วยตุ่มใสเล็กๆ ตุ่มใสนี้จะอยู่เป็นเวลา 7-10 วันแล้วจึงเริ่มหาย
อาการของโรคเริม เริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน คันๆบริเวณปากก่อนเกิดผื่น 2 วัน ต่อมาเกิดตุ่มใสที่ปากหรือริมฝีปาก ตุ่มอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่ และอาจจะมีไข้ต่ำๆ
การรักษาโรคเริม สามารถใช้ยาระงับความเจ็บปวดได้ เช่น พาราเซตตามอล ไอบูโปรเฟน ทั้งนี้ ห้ามใช้ แอสไพริน ในเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเรย์ ที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ ส่วนการใช้ยาต้านไวรัสนี้ ปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ Acyclovir Famciclovir และValaciclovir
การเกิดโรคซ้ำ อาการแผลของเริมนี้อาจเกิดเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากเชื้อไวรัสเริมนี้จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท (ganglion) และมักจะทำให้เป็นเริมซ้ำที่บริเวณเดิม หรือใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมเสมอ
ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเริมซ้ำได้อีกมีดังนี้
1. การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
2. ความเครียด วิตกกังวล เช่น ทำงานหนัก ใกล้สอบ เป็นต้น
3. ความเจ็บป่วย ช่วงที่สุขภาพอ่อนแอ ทรุดโทรม ไม่ค่อยสบาย จะกลับเป็นเริมได้อีก
4. อากาศร้อน แสงแดด
5. ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ระหว่างมีประจำเดือน
ที่มา...wikipedia
Advertisements
Advertisements
0 ความคิดเห็น