ดูดไขมัน หุ่นกระชับในครั้งเดียว แต่ดูดไขมันออกมากแค่ไหน ถึงจะปลอดภัย ?

05:17

ดูดไขมัน หุ่นกระชับในครั้งเดียว แต่ดูดไขมันออกมากแค่ไหน ถึงจะปลอดภัย ?


บ่อยครั้งที่การออกกำลังกายไม่สามารถสลายไขมันในร่างกายได้รวดเร็วดังที่ใจต้องการ ดังนั้นวิธีการดูดไขมันจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีลดความอ้วน ที่หลายๆคนให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย

คำถามยอดฮิตที่คนอย่างรู้เกี่ยวกับการดูดไขมันก็คือ การดูดออกได้มากที่สุดแค่ไหนจึงจะปลอดภัย ทั้งนี้เพราะว่าไหนๆก็เจ็บตัวแล้วเสียเงินแล้ว ขอเอาออกที่เดียวเยอะไปเลย แต่ก็ต้องปลอดภัยด้วย

Photo By startstemcells.com

อ่านบทความงานวิจัย เรื่อง How much liposuction is 'safe'? A Risk Assessment Model of Liposuction Volume as a Function of Body Mass Index ตีพิมพ์ในวารสารหมอศัลยกรรทพลาสติกของสมาคมแพทย์ศัลยกรรมสหรัฐน่าจะใช้เป็นแนวคิด วารสารชื่อ Plastic and Reconstructive Surgery, journal of the American Society of Plastic Surgeons (ASPS) ของฉบับเดือนกันยายนนี้

ผู้แต่งชื่อ นพ.จอห์น คิม อยู่ที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเติร์น เฟนเบริ์ก แห่งรัฐชิคาโก เขาบอกว่าการดูดไขมัน ถ้าทำโดยศัลยแพทย์พลาสติกที่ได้รับการฝึกฝน มีประสบการณ์จะมีผลข้างเคียงน้อยมาก 1000 คนพบได้ 1 คน

เขาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการดูดไขมันผู้ป่วยมากกว่า 4500 ราย ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของสมาคม จาก 4500 คนนี้เขาได้หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการแทรกซ้อน กับปัจจัยต่างๆ เช่นดัชนีมวลกาย พบอาการแทรกซ้อนหลังผ่าเท่ากับ 1.5% อาการแทรกซ้อนที่พบส่วนใหญ่ก็คือการมีน้ำเหลืองคั่งจนต้องระบายออก เมื่อดูละเอียดลงไปพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ถูกดูดไขมันออกโยเฉลี่ยเท่ากับสองลิตร ผู้ป่วยที่ดูดออกมากกว่าคือเฉลี่ย 3.4 ลิตร จะมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้น 3.7%

Photo By medicalspamd.com

เขาพบว่าคนที่มีดัชนีมวลการมากกว่าจะทนต่อปริมาณการดูดไขมันออกที่มากกว่า อาการแทรกซ้อนเกิดน้อยกว่า หมอคิมและคณะจึงเสนอแนวคิดว่าคนไข้มี "relative liposuction volume threshold" พิจารณาจากดัชนีมวลกายของคนไข้แต่ละคน หมายถึงปริมาณไขมันมากที่สุดที่ดูดออกแล้วไม่เกิดโรคแทรกซ้อน ปริมาณไขมันที่มากกว่าเส้นแบ่งอันนี้ขึ้นไป ถ้าดูดไปก็หมายถึงความเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นนะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามดูดเลย

นอกเหนือจากดัชนีมวลกายของคนไข้แล้ว ปัจจัยอย่างอื่นเช่น ระยะเวลาของการดูด สภาพของผู้ป่วย การกระทำอย่างอื่นที่ใช้ร่วมในการดูด ด้วยวิธีการประเมินปริมาณไขมันที่ใช้ดัชนีมวลกายนี้ ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการปรึกษาระหว่างหมอกับผู้ป่วย




บทความจาก...... diabassocthai.org สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







Advertisements

Advertisements

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

SUBSCRIBE NEWSLETTER

Get an email of every new post! We'll never share your address.

Popular Posts

Flickr Images

Blog Archive