กินพาราเซตามอล (Paracetamol) เกินขนาด ระวังเสี่ยงตับพัง

00:36

กินพาราเซตามอล (Paracetamol) เกินขนาด ระวังเสี่ยงตับพัง

แพทย์ระบุคนไทยเสี่ยงรับ พาราเซตามอล (Paracetamol) เกินขนาดทำให้เป็นพิษต่อตับ ดัน “การใช้ยาสมเหตุผล” ให้เขียนกำกับการใช้ยาห้ามกินเกิน 8 เม็ดต่อวัน เตรียมประชาพิจารณ์ก่อนประกาศใช้

นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ที่ประชุมเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ต่างจังหวัด และโรงพยาบาลเครือข่ายโรงเรียนแพทย์ ประมาณ 50 แห่ง ได้มีการหารือถึงการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างสมเหตุผล

โดยเห็นว่าขณะนี้ในตลาดประเทศไทยมียาพาราฯวางขายหลายขนาด โดยเฉพาะขนาด 650 มิลลิกรัมนั้นทำให้มีความเสี่ยงได้รับยาเกินขนาดและเป็นพิษต่อตับ เนื่องจากคนไทยชอบรับประทานยาพาราฯครั้งละ 2 เม็ด แต่ตามเกณฑ์มาตรฐานระบุไว้ที่ 1,000 มิลลิกรัม

ซึ่งการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ยังไม่สำเร็จ ที่ประชุมจึงมีมติให้เริ่มส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยเริ่มต้นที่โรงพยาบาลก่อน โดยกำหนดการเขียนรายงานการสั่งยาของแพทย์ให้จ่ายยาพาราฯแก่ผู้ป่วยหญิงจำนวน 1 เม็ด รับประทานทุก 6 ชั่วโมง

ส่วนผู้ป่วยชายให้พิจารณาเป็นรายบุคคล จากเดิมที่เขียนสั่งจ่ายยาพาราฯให้ผู้ป่วยในอัตรา 2 เม็ด รับประทานทุก 4 ชั่วโมง และให้เขียนกำกับบนฉลากยาด้วยว่าห้าม ใช้ยาพาราฯเกิน 8 เม็ดต่อวัน เพราะเป็นพิษต่อตับ


Photo By mediclegist.com

นพ.พิสนธิ์กล่าวอีกว่า หลังจากสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว จะเสนอเรื่องนี้ต่อสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) เพื่อ บรรจุให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นหนึ่งหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพโรงพยาบาล (HA) ด้วย

โดยในวันที่ 15 ตุลาคมนี้จะมีการพิจารณาความคืบ หน้าเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 29 ตุลาคมจะมีพิธีลงนามความร่วมมือเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี

Photo By continentalhospitals.com

อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยากล่าวต่อว่า หลังจากขับเคลื่อนเรื่องการใช้ยาพาราฯอย่างสมเหตุผลมาตลอดทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก อย่างตอนนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการจัดทำเอกสารกำกับยาอย่างละเอียดและถูกต้อง

ด้วยการกำหนดอัตราการใช้ยาที่เหมาะสมกับน้ำหนัก ตัว แทนการกำหนดอายุ การจัดทำเอก- สารกำกับยาสำหรับประชาชนให้สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม เอกสารกำกับยาสำหรับแพทย์ ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเรียบ ร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ




บทความจาก...... มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง - Women's Health Advocacy Foundation / โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557







Advertisements

Advertisements

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

SUBSCRIBE NEWSLETTER

Get an email of every new post! We'll never share your address.

Popular Posts

Flickr Images

Blog Archive