หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ โรคหูดข้าวสุก แต่ทว่า หูดข้าวสุก นี้มีอาการอย่างไร ? และ หูดข้าวสุก วิธีรักษา ทำอย่างไร มาดูกันค่ะ
หูดข้าวสุก คืออะไร ?
[Molluscum contagiosum] หูดข้าวสุก คือโรคติดต่อทางผิวหนัง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ MCV [Molluscum contagiosum Virus ] โดยเชื้อไวรัสนี้จะแบ่งตัวที่ผิวหนังชั้นนอกเกิดเป็นรอยโรคที่มีลักษณะเป็นตุ่มสีเนื้อที่ผิวหนังไม่มีอาการเจ็บหรือคัน
หน้าตาของหูดข้าวสุกเป็นอย่างไร ?
หูดข้าวสุกมีขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตรงกลางตุ่มมักมีจุดบุ๋มลงไปคล้ายสะดือ เวลาบีบตุ่มออกจะได้สารสีขาวข้างในคล้ายข้าวสุกจึงเรียกว่าหูดข้าวสุก หูดข้าวสุก นี้จะพบได้บ่อยในคนสองกลุ่มช่วงอายุคือในเด็กวัยอนุบาลและประถม และผู้ใหญ่ที่บริเวณอวัยวะเพศในผู้ใหญ่จึงถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
หูดข้าวสุก ในผู้ป่วยเอดส์
หูด โรคเอดส์ ในประชากรณ์ทั่วไป พบการเกิดหูดข้าวสุกได้ประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นของประชากร แต่ในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์นั้น โอกาสพบหูดข้าวสุกมีมากขึ้นคือ 5-18% และยังพบจำนวนตุ่มของหูดข้าวสุกมากกว่าประชากรณ์ภูมิคุ้มกันปกติด้วย
หูดข้าวสุกอันตรายแค่ไหน ?
การติดเชื้อหูดข้าวสุกเป็นเฉพาะผิวหนังเท่านั้น ไม่มีการติดเชื้อลุกลามในกระแสโลหิตหรือระบบประสาท อย่างไรก็ดีถึงหูดข้าวสุกจะเป็นปัญหาเพียงปัญหาผิวหนังแต่ก็ส่งผลกระทบด้านภาพลักษณ์ไม่น่าดู การเกาบริเวณหูดข้าวสุกอาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้
หูดข้าวสุก ติดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
ระยะฟักตัวของโรคคือ 2-7 สัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อ
แล้ว หูดข้าวสุก ติดต่อ ยังไง ?
หูดข้าวสุก ติดต่อจากการที่ผิวสัมผัสกับรอยโรคโดยตรง เช่นนักมวยปล้ำหากมีการเสียดสีกันของผิวหนังปกติกับผิวหนังที่มีรอยโรคก็สามารถติดโรคนี้ได้
หูดข้าวสุก สามารถติดจากการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนู อุปกรณ์กีฬา
หูดข้าวสุก ติดในตัวผู้ป่วยเองจากบริเวณหนึ่งไปบริเวณหนึ่ง จากการเกา
หูดข้าวสุก เป็นติดจากเพศสัมพันบริเวณอวัยวะเพศในผู้ใหญ่วัยเจริญพันธุ์
หูดข้าวสุกที่ติดต่อจากเพศสัมพันควรพาคู่นอนมาทำการรักษาด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำไปมา
ทราบได้อย่างไรว่าเป็น หูดข้าวสุก ?
ตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันหาเซล์ลที่ติดเชื้อไวรัสได้ โดยตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ หรือย้อมเนื้อในหูดข้าวสุกที่ขูดออกมาด้วย Wright smear จะเห็นเซลล์ขนาดใหญ่มี Inclusion Body inclusion body
หูดข้าวสุก วิธีรักษา
หูดข้าวสุก ควรรีบรักษา เนื่องจากหูดข้าวสุกสามารถแพร่กระจายเพิ่มจำนวนขึ้นจากการเกา หากรักษาตั้งแต่เริ่มมีตุ่มน้อยๆ 3-4 ตุ่ม ก็จะเจ็บตัวน้อยลงค่ะ รอให้หายเอง มักหายได้เองในหนึ่งปี โดยทั่วไป หายเองในเวลา 6-9 เดือน มักใช้ในเด็กค่ะ
พบคุณหมอเพื่อทำการรักษาคุณหมอก็จะทำการรักษาโดยการ ขูดเอารอยโรคออก โดยใช้การแปะยาชาเฉพาะที่ก่อนขูดออก
ซึ่งแพทย์จะทำซ้ำทุกสองสัปดาห์จนรอยโรคหาย สองวิธีนี้เป็นการรักษามาตรฐานของการรักษา หูดข้าวสุก ค่ะ
ซื้อยามาทาเอง
ยังไม่มียาทาที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาว่าให้เป็นการรักษาตรฐานของ หูดข้าวสุก นะคะ ที่มีการทดลองใช้เช่น imiquimod แต่ก็ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ค่ะ โดยทายาก่อนนอน 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในเวลาเก้าเดือนร้อยละแปดสิบของผู้ป่วยที่ทายาพบว่าหูดยุบหมด
การจี้เย็น จี้เย็น หูดข้าวสุก ทำทุกสามถึงสี่สัปดาห์ จนรอยหูดหายไป
กรด Trichloroacetic acid เข้มข้น 50- 70 % ใช้แต้มที่หูด ทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าหูดจะหลุดหมด
ยารับประทาน
ในรายที่เป็นหูดกระจายทั่วตัว มีการรายงาน การรักษา โดยยารับประทาน คือยา Cimetidine 40 mg/kg/day เป็นเวลาสองเดือน รอยโรคหูดหายไปในเวลา 4 เดือน ระหว่างการรักษาก็ต้องป้องกัน คนอื่นติด หูดข้าวสุก จากเราด้วย
ปิดหูด โดยการปิดพลาสเตอร์ที่รอยโรคค่ะ เช่นเวลาว่ายน้ำ เข้ายิมออกกำลัง ใส่เสื้อผ้าแขนขายาวคลุมรอยโรค ส่วนรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศแนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายเรียบร้อยค่ะ
ไม่แกะเการอยโรค เพราะจะพาไปติดที่ผิวหนังบริเวณอื่นได้ค่ะ เช่นเอามือไปขยี้ตาก็เป็น หูดข้าวสุก ท่าได้ค่ะ
หูดข้าวสุก ตา ล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้ แอลกอฮอร์เจลเป็นประจำ
ล้างมือ ซักเสื้อผ้าตามปกติ – โรคนี้กลับเป็นซ้ำได้บ่อย
หูดข้าวสุก รักษาหายแล้วกลับเป็นอีกได้ไหม ?
โดยหนึ่งในสามของคนที่เคยเป็นพบว่ามีการกลับเป็นซ้ำอีก
ป้องกันตัวจาก โรคหูดข้าวสุก อย่างไร ?
ล้างมือและใช้แอลกอฮอร์เจลเป็นประจำเมื่อสัมผัสสิ่งของสาธารณะที่มีโอกาสนำโรค
สถานบริการสาธารณะเช่นสระว่ายน้ำ ยิม ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันเป็นประจำ ทำความสะอาด
หากอยู่ร่วมบ้านกับสมาชิกที่มีรอยโรคให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปที่ใช้ตามบ้าน ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวเช่นผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
บรรณานุกรม
ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร .Dermatology 2020:ชื่อบท.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โฮลิสติก,2555
Lowell A. Goldsmith,Stephen I. Katz,Barbara A. Gilchrest,Amy S. Paller,David J.Leffell,Klaus Wolff.Fitzpatrick’s dermatology in general medicine :chapter.eight edition.McGraw-Hill.2012
Patients with Molluscum Contagiosum and Swimming Pool SafetyBackground .CDC Center of Control and Disease Prevention
http://www.cdc.gov/ncidod/dvrd/molluscum/swimming/swimming_recommendations.htm .March 18, 2013. – Ashish C Bhatia, MD. Mlluscum Contagiosum.Medscape. Jan 5, 2012. http://emedicine.medscape.com/article/910570-overview
บทความจาก...หมอฟ้า / http://www.skinanswer.org/
Advertisements
Advertisements
0 ความคิดเห็น